Home > Publication & Database

CMRI Publication

เอกสารเผยแพร่

การวิเคราะห์ปัจจัยและนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความพร้อมในการเกษียณอายุ

Anirut Pisedtasalasai, Ph.D. , Narongrid Asavaroungpipop , Roongkiat Ratanabanchuen, Ph.D. , Ruttachai Seelajaroen, Ph.D. , Tanawit Sae-Sue, Ph.D.

05 Nov 2024
SHARE

Abstract

จากการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ และนโยบายของภาครัฐ และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2564-2566 ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของคนไทยในปี 2566 พบว่า


ความพร้อมในด้านคุณภาพชีวิต


  1. สถานะสุขภาพครัวเรือนไทยในปัจจุบันมีระดับสูงขึ้น สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการของภาครัฐในการสร้างการตระหนักรู้ถึงการดูแลรักษาสุขภาพมีผลลัพธ์ที่ช่วยให้คนไทยมีสุขภาพดีขึ้น
  2. ทัศนคติในการดูแลสุขภาพของคนไทยไม่สามารถรักษาให้อยู่ในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีพฤติกรรมตอบสนองความต้องการระยะสั้นมากกว่าการดูแลสุขภาพในระยะยาว
  3. การสนับสนุนด้านสุขภาพจากหนัวยงานที่เกี่ยวข้องปรับตัวดีขึ้น จากการคลี่คลายของการระบาดของโรคโควิด-19 และคนไทยเกือบทุกคนสามารถเข้าถึงวัคซีนได้แล้ว
  4. คนไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ โดยภาครัฐจะต้องกำหนดมาตรการและแนวทางการส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพแบบมุ่งเป้าไปประชากรบางกลุ่มโดยเฉพาะ เช่น กลุ่มอายุน้อย กลุ่มอาชีพพนักงานเอกชน ลูกจ้าง/รับจ้าง และอาชีพอิสระ ที่มีระดับความรอบรู้ดานสุขภาพค่อนข้างต่ำมาก

ความพร้อมทางด้านการเงิน


  1. ความเพียงพอทางการเงินโดยภาพรวมของคนไทยอยู่ในระดับปานกลาง นโยบายสำคัญที่สามารถช่วยยกระดับคะแนนความพอเพียงทางการเงินของคนไทย คือ แนวคิดในการจัดตั้ง “กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.)” แผนพัฒนาตลาดทุนไทย และแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  2. ทัศนคติต่อการวางแผนทางการเงินของคนไทยอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยสำคัญที่มีผล ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความรู้และทักษะทางด้านการเงิน และปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ นโยบายที่สำคัญ คือ แผนปฏิบัติการพัฒนาทักษะทางการเงินของกระทรวงการคลัง
  3. การสนับสนุนด้านการเงินจากองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในภาพรวม แนวโน้มของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงหลักประกันรายได้หลังเกษียณเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
  4. ระดับทักษะความรู้ทางการเงินของคนไทยลดลง เนื่องจากกระแสตอบรับจากบริการทางการเงินดิจิทัลจากสถานการณ์โควิดทำให้คะแนนสูงขึ้นในระยะสั้น และปัจจุบันเริ่มอิ่มตัวแล้ว

ดัชนีอยากบอกอะไร? ส่องมุมมองการเกษียณของคนไทย


  • รู้ไหมว่า? ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ! ซึ่งคาดการณ์ว่าจำนวนจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอีกเกือบยี่สิบปีข้างหน้าเป็นสองเท่า หรือคิดเป็นสัดส่วน 30% ของประชากรเลยทีเดียว ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายจึงต้องเข้าใจในภาพรวมของการวางแผนการเกษียณของคนไทย แต่จะมี การวิเคราะห์ นโยบาย หรือเครื่องนำทางอะไรล่ะที่จะมาช่วยให้่เห็นภาพรวมนี้
  • โดยทีมคณาจารย์ของจุฬาได้จัดทำดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านการเกษียณอายุแห่งชาติ โดยวัดสองมิติ คือ ด้านความมั่นคงทางคุณภาพชีวิตและด้านความมั่นคงทางการเงิน โดยดัชนีความมั่นคงของคุณภาพชีวิตคนไทยเพิ่มขึ้น สะท้อนจากคนไทยแข็งแรงขึ้นเพราะนโยบายรัฐผลักดันให้ดูแลสุขภาพ แต่ก็ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุง อย่างเช่น คนไทยยังขาดการตระหนักเรื่องโภชนาการ นิยมทานหวาน มัน เค็ม ดูแลสุขภาพน้อยลง ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ และมักจะรอให้ป่วยก่อนถึงจะดูแลตัวเอง มีปัจจัยแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เข้ามาจูงใจ โดยปัจจุบันการสนับสนุนของภาครัฐมากขึ้นแต่รัฐต้องสร้างความรู้เรื่องสุขภาพให้กับคนไทยให้ถูกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น (18 – 29 ปี) และกลุ่มพนักงานเอกชน ลูกจ้างและอาชีพอิสระ
  • เงินเก็บและความรู้การเงินของคนไทยตอนนี้เป็นยังไงบ้าง? ดัชนีสะท้อนว่าความพร้อมทางการเงินคนไทยน้อยลง แค่พอมีพอกิน แต่ก็ยังไม่เยอะมาก โดยเฉพาะคนทำธุรกิจและลูกจ้างทั่วไป แม้ว่าจะดีขึ้นหลังจากช่วงโควิด-19 แต่ก็ยังต้องระวังตัว เพราะอนาคตไม่แน่นอน ส่วนเรื่องการวางแผนเกษียณของคนไทยดีขึ้นเล็กน้อย โดยปัจจัยกำหนดคือ เช่น เศรษฐกิจ ความรู้เรื่องการเงิน และปัจจัยส่วนตัวที่แตกต่างกันไป   ถึงแม้การวางแผนเกษียณพอไปได้แต่ความรู้การเงินคนไทยกลับลดลง ขาดความต่อเนื่องในการพัฒนา เนื่องจากตอนโควิด-19 ทุกคนหันมาใช้บริการทางการเงินดิจิทัลกันเยอะ ทำให้รู้เรื่องการเงินมากขึ้น แต่พอผ่านไปสักพักก็เริ่มลืม ๆ กันไปแล้ว ซึ่งในปัจจุบันภาครัฐมีการสนับสนุนมากขึ้น แต่จะต้องมีความต่อเนื่องและแผนพัฒนาความรู้อย่างยั่งยืน
  • ในส่วนของข้อเสนอแนะทางนโยบาย รัฐต้องช่วยคนไทยให้สุขภาพดีขึ้น! รัฐควรเน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน เช่น การควบคุมอาหารให้มีคุณภาพ และตระหนักถึงคุณค่าทางโภชนาการ หรือส่งเสริมให้คนออกกำลังกายมากขึ้น และที่สำคัญคือต้องสร้างความรู้เรื่องสุขภาพให้คนไทยเข้าใจง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนไม่ละเลยที่จะดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อลดการใช้เงินเก็บกับค่ารักษาพยาบาลยามฉุกเฉิน ในขณะที่ปัญหาหนี้ครัวเรือนของคนไทยสูงขึ้น เพราะหลายคนยังขาดความรู้เรื่องการเงิน ดังนั้น รัฐต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางการเงิน ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ เพื่อให้ทุกคนมีทักษะในการบริหารเงิน และวางแผนการเกษียณอย่างมั่นคง รวมถึงสนับสนุนระบบการออมเพื่อการเกษียณในการอำนวยความสะดวกให้กับคนไทย เช่น ส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันบันทึกรายรับรายจ่าย ออกแบบแอปพลิเคชันใช้จ่ายแล้วนำแต้มเป็นเงินออม กำหนดสัดส่วนออมคงที่มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงระบบการออมและสิทธิประโยชน์ผ่านเครื่องมือดิจิทัล สร้างระบบการออมให้แรงงานนอกระบบ รวมถึงขยายเพ