Home > Publication & Database

CMRI Publication

เอกสารเผยแพร่

โครงการการยกระดับการออมผ่านช่องทางตลาดทุน รายงานย่อยฉบับที่ 2: “ความรู้ ความเข้าใจ และการเข้าถึงข้อมูลตลาดทุน ของประชาชน”

07 Nov 2024
SHARE

Abstract

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ชุดโครงการการยกระดับการออมผ่านช่องทางตลาดทุน” เป็นรายงานย่อย เล่มที่ 2 เรื่อง “ความรู้ ความเข้าใจ และการเข้าถึงข้อมูลตลาดทุน ของประชาชน” ของชุดโครงการ เริ่มต้นด้วยการสำรวจกรอบแนวคิดด้านการออมและการลงทุนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน ตามด้วยการค้นหาและการทำความเข้าใจกระบวนการ (Journey) และจุดเปลี่ยนสำคัญ (Turning Point) ที่เป็นตัวกำหนดการเข้าสู่หรือไม่เข้าสู่ ตลาดทุนของประชากรกลุ่มต่าง ๆ ผ่านวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกบนฐานของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในกลุ่มตัวอย่างผู้ลงทุนและไม่เคยลงทุนผ่านช่องทางตลาดทุน ประกอบกับการเก็บข้อมูลในวงกว้างจากการสำรวจแบบสอบถามในพื้นที่ตัวอย่างทั่วประเทศ เสริมด้วยการสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทสำคัญในการออมและการลงทุนในประเทศไทย และสรุปผลเป็นข้อเสนอแนะทางนโยบายในการยกระดับการออมผ่านช่องทางตลาดทุนของประชากรไทย ผลการศึกษาพบว่า

  1. การเริ่มต้นลงทุนยังคงมีอุปสรรค เช่น ความกลัวความเสี่ยง ความไม่มั่นใจในความรู้การเงิน และการขาดแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ โดยความรอบรู้ทางการเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้บุคคลมีความเข้าใจในความเสี่ยงและการตัดสินใจลงทุนที่เหมาะสมได้
  2. ยังมีคนไทยจำนวนมากที่ขาดความรู้และความเข้าใจในการบริหารจัดการการเงินเพื่อการลงทุน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำและผู้ที่เข้าถึงการศึกษาได้น้อย
  3. อคติเชิงพฤติกรรม เช่น ความกลัวการสูญเสีย ความยึดติดในสถานะเดิม และความมั่นใจในความสามารถเกินไป มักส่งผลให้ผู้คนชะลอการเริ่มต้นลงทุน
  4. ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมตลาดทุนของผู้คน ได้แก่ ความพร้อมทางการเงิน ความรอบรู้ทางการเงินการลงทุน อคติเชิงพฤติกรรม และบรรทัดฐานและความเชื่อของสังคม
  5. การพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของความรอบรู้ทางการเงินตามมาตรฐานสากล การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่เข้าใจง่ายและปลอดภัย และการส่งเสริมวัฒนธรรมการออมและการลงทุนที่เน้นประโยชน์ระยะยาวยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
  6. ภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องพิจารณามาตรการสนับสนุนความรอบรู้ทางการเงิน เช่น การจัดทำโครงการอบรม การใช้เครื่องมือทางการเงินที่เข้าถึงง่าย และการออกแบบนโยบายภาษีที่ส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณ นอกจากนี้ การสร้างความเชื่อมั่นต่อตลาดทุน และการสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักและเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างเหมาะสมผ่านช่องทางและการนำเสนอที่เหมาะสมจะช่วยให้ประชาชนเกิดการออมและการลงทุนที่ยั่งยืน