Sunti Tirapat, Ph.D. , Suparatana Tanthanongsakkun, Ph.D.
โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดอันดับความยั่งยืน (Globe Rating) กับมูลค่ากระแสเงินลงทุน (Fund Flows) ในกองทุนรวมหุ้นสามัญ ภายใต้ตลาดปกติและภาวะวิกฤต เพื่อให้ทราบว่าความยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็น (Necessity) ต่อการเลือกลงทุน หรือเป็นเพียงสิ่งฟุ่มเฟือย (Luxury Goods) นอกจากนั้น ยังศึกษาผลกระทบของการให้ข้อมูลที่ชัดเจนโดดเด่น (Salient Information) ต่อกระแสเงินลงทุน เพื่อศึกษาว่าการจัดอันดับความยั่งยืน (Globe Rating) มีผลต่อผลการดำเนินงานของกองทุนหรือไม่ โดยวิเคราะห์ผลตอบแทนส่วนเกินจากตัวแบบปัจจัยตลาดจากการสร้าง Long-Short Portfolio ของอันดับความยั่งยืน เพื่อให้ทราบถึงมุมมองของนักลงทุนต่อประเด็นความรับรู้ (Perception) เรื่องความยั่งยืน และวิเคราะห์การใช้ข้อมูลความยั่งยืนในการจัดสรรการลงทุนจากการสำรวจเชิงทดลอง (Experimental Survey)
งานวิจัยได้ผลสรุปว่า นักลงทุนไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน แตกต่างจากผลการศึกษาในต่างประเทศ และยังไม่พบว่ากองทุนที่มี Globe Rating สูงจะให้ผลตอบแทนหรือมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากองทุนที่มี Globe Rating ที่ต่ำกว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่รู้จักข้อมูลการจัดอันดับ Morningstar Rating และ Globe Rating นักลงทุนส่วนใหญ่มากถึง 74% ให้ความสำคัญกับทางด้านสิ่งแวดล้อม (E) เป็นอันดับแรก ตามมาด้วยเรื่องธรรมาภิบาล (G) เป็นอันดับสอง และทางด้านสังคม (S) เป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งแตกต่างจากมุมมองของผู้จัดการกองทุนซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องธรรมาภิบาลเป็นอันดับแรก จากการทดลองเชิงสมมุติของกลุ่มตัวอย่างโดยให้นักลงทุนจัดสรรเงินลงทุน (Allocation) ในกองทุนรวมที่มี Globe Rating ที่แตกต่างกัน พบว่าความคาดหวังผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดสรรเงินลงทุนในกองทุนรวม และที่สำคัญพบว่านักลงทุนได้มีการจัดสรรเงินลงทุนในกองทุนที่มีอันดับความยั่งยืนสูงสุด (Five Globe) มากขึ้น ในขณะที่ได้จัดสรรการลงทุนในกองทุนที่มีอันดับความยั่งยืนต่ำที่สุด (One Globe) หลังจากที่ได้คำนึงถึงความคาดหวังของผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนแล้ว สะท้อนว่านักลงทุนให้ความสำคัญกับความยั่งยืน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (policy recommendations) เบื้องต้น สรุปได้ดังนี้