Abstract
การศึกษาด้านการส่งเสริมการเข้าถึงตลาดทุน ประกอบด้วย ผลการศึกษาวิจัยทางกฎหมาย การสำรวจข้อมูลการเข้าถึงตลาดทุน (Survey on Capital Market Access) การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และการระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาดทุน จากห้องปฏิบัติการนโยบาย (Policy Lab) เพื่อประมวลเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สาหรับการยกระดับการเข้าถึงโอกาสในตลาดทุน
ตอนที่ 1 กำแพงความรู้และการวางแผน: อุปสรรคสู่ตลาดทุนไทย
• ตลาดทุนที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม เหมือนสนามเด็กเล่นที่ทุกคนเข้ามาเล่นได้ แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าสนามจะยังไม่เปิดกว้างพอ โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนรายย่อยและธุรกิจเล็กๆ วันนี้ CMDF จะหยิบงานวิจัยของมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษาเพื่อเจาะลึกถึงปัญหาตรงนี้กัน
• ปัญหาแรกเลย คือ ขาดแคลนเงินลงทุน นับตั้งแต่ช่วงโควิดคนไทยเริ่มมีความสามารถชำระหนี้ได้น้อยลง บางบริษัท SME เองก็มีการปิดตัวไป โดยนักวิจัยพบว่า หลายคนไม่มีเงินเก็บ หรือมีเงินเก็บน้อยมาก ทำให้ไม่มีเงินพอที่จะมาลงทุน ในขณะที่บางคนมีเงินเหลือเก็บแต่ไม่ยอมจัดสรรการเก็บออม ทำให้เวลาเกิดวิกฤตหรือตอนแก่ไปแล้ว ก็ยิ่งลำบากขึ้น
• ปัญหาที่สองคือเรื่องความรู้ คนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เรื่องการเงินอย่างมาก ผลพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วรู้จักเรื่องการเงินเพียงเล็กน้อยจากทั้งหมด 24 ข้อที่ถาม และมีผู้ตอบว่าไม่รู้จักเลยสักข้อถึงหนึ่งในสาม ซึ่งนี่เป็นสัญญาณเตือนว่าประชาชนยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดทุน ในขณะที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวแต่ยังขาดการทำงานร่วมกันในการส่งเสริมความรู้ ทำให้ยังไม่มีเป้าหมายร่วมกันและขาดความต่อเนื่อง
• นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการเข้าถึงตลาดทุนไทย ยังมีปัญหาที่งานวิจัยต้องเจาะลึก ร่วมไขปริศนากับ CMDF / CMRI ใน EP ถัดไปกัน
ตอนที่ 2 ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ตลาดทุนไทย: โอกาสหรืออุปสรรค?
• สินค้าใหม่ ๆ บนห้างสรรพสินค้ามักมาตามเทรนที่ดึงดูดใจผู้บริโภคได้เสมอ แล้วผลิตภัณฑ์การลงทุนในตลาดทุนถึงไทยเป็นเช่นนั้นหรือไม่? นักลงทุนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? มาหาคำตอบไปพร้อมกันกับงานวิจัยของมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา
• ผลิตภัณฑ์ โครงสร้างของบริษัทในตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่อาศัยบริษัทในอุตสาหกรรมดั้งเดิม (Old Economy) เป็นบริษัทที่ชี้นำเศรษฐกิจมาโดยตลอด เช่น พลังงาน ธนาคาร ท่องเที่ยว และค้าปลีก แต่ขาดบริษัทเทคโนโลยีที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่เหมือนอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน ทำให้ผลิตภัณฑ์ตลาดทุนไทยมีจำกัดไม่ตอบโจทย์เทรน Technology driven
• นอกจากนี้ ผลิตภันฑ์การเงินในไทยไม่สอดคคล้องกับความคาดหวังของนักลงทุน โดยคาดหวังผลตอบแทนที่รวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของการลงทุนในตลาดทุนที่มักให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
•ปัญหาไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงใจ แต่ธุรกิจเองยังไม่สามารถใช้ศักยภาพในการระดมทุนผ่านเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ในตอนต่อไป CMDF จะมาเล่าอีกปัญหาหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาใหญ่แต่จะเป็นอะไร ติดตามชม EP ถัดไปกัน
ตอนที่ 3: กฎระเบียบตลาดทุนไทย: อุปสรรคต่อการเข้าถึงและการเติบโต
• ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งคือ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดทุนของเรามีจำนวนมากและซับซ้อนเกินไป บางส่วนก็ล้าสมัย ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงตลาดทุนได้ยากขึ้นนอกจากนี้ กฎระเบียบเหล่านี้ยังเป็นอุปสรรคต่อบริษัทขนาดเล็ก (SME) ที่ต้องการระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจ ทำให้ตลาดทุนของไทยขาดความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
• โดยปัญหาทางด้านกฏหมายนั้น เช่น กฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ผู้ลงทุนต้องมีเงินเยอะ ๆ จึงจะลงทุนในสินทรัพย์บางประเภทได้ ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะคนเก่ง ๆ ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพก็ควรมีสิทธิ์ลงทุนได้เช่นกัน ควรต้องมีการปรับนิยามผู้ลงทุนให้คำนึงถึงลักษณะอื่นด้วย เช่น สายอาชีพ ความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ให้เป็น Professional Investors ซึ่งสามารถลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภทได้
• กฎระเบียบเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล โดยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นหรือไม่รู้จักตลาดทุน ข้อมูลกระจัดกระจาย จึงควรจัดทำมาตรฐานกลางในการเปิดเผยข้อมูล รวมถึง ใช้ภาษาเรียบง่ายชัดเจน มีอธิบายศัพท์เทคนิค ตามกรณีตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ และด้านระเบียบการระดมทุนของ SME ที่ต้นทุนในการระดมทุนค่อนข้างสูง และผันผวน ทำให้ประชาชนขาดแรงจูงใจทำให้เข้าถึงตลาดได้ยาก ดังนั้นต้องมีการปรับปรุงกฏระเบียบเหล่านี้ให้เข้าถึงตลาดทุนได้ง่ายขึ้น
• สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าปัญหากฎระเบียบและโครงสร้างตลาดที่ยังไม่เอื้ออำนวย การแก้ไขปัญหานี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนและเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงตลาดทุนได้อย่างเท่าเทียม