Home > Publication & Database

CMRI Publication

เอกสารเผยแพร่

การวิเคราะห์ช่องว่างการบริหารจัดการ Conduct Risks ในตลาดทุนของไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ

Chutatong Charumilind, Ph.D.

25 Oct 2024
SHARE

Abstract

โครงการศึกษาวิเคราะห์ช่องว่างการบริหารจัดการ Conduct Risks ในตลาดทุนของไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการ Conduct Risks ทั้งในด้านการกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐ และด้านการดำเนินการขององค์กรในภาคธุรกิจตลาดทุน รวมถึงบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ วิเคราะห์เปรียบเทียบประเทศไทยกับต่างประเทศ ตลอดจนสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จ พร้อมตัวอย่าง Self-Regulatory Organization (SRO) ที่น่าสนใจ โดยการศึกษาได้พิจารณาตลาดทุนทั้งระบบตามมิติของกิจกรรมในการลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำที่เกี่ยวกับกับกิจกรรมการออกผลิตภัณฑ์การลงทุน กลางน้ำที่เกี่ยวกับการซื้อขายผลิตภัณฑ์นั้น และปลายน้ำที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายเมื่อมีการกระทำความผิดกฎหมาย กฎระเบียบ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการลงทุนและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน สรุปได้ดังนี้

  1. การบริหารจัดการความเสี่ยงในช่วงต้นน้ำ ทุกประเทศได้มีความพยายามในการป้องกันไม่ให้เกิด Conduct Risk โดยมีการคัดเลือกบุคลากรทั้งที่เป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน การจำแนกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะการคัดเลือกบุคลากรจะให้ความสำคัญกับทั้งความดีหรือมีประวัติที่ดี ความรู้ในการทำงาน และประสบการณ์การทำงานเพียงพอ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะมีความต้องการเกี่ยวกับคุณสมบัติที่เข้มงวดกว่า และครอบคลุมกลุ่มบุคลากรที่กว้างกว่า 
  2. การบริหารจัดการความเสี่ยงในช่วงกลางน้ำ ในต่างประเทศจะมี SRO ช่วยในการกำกับดูแลที่เหมือนกัน คือ ตลาดหลักทรัพย์ของแต่ละประเทศ และยังมี SRO อื่น ๆ ที่แตกต่างกันไป เช่น FINRA ของสหรัฐอเมริกาที่กำกับดูแล Brokers-Dealers และ Investment Advisers นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการตรวจจับการกระทำความผิดให้เร็วที่สุด หลายประเทศจะมีช่องทางให้มีการแจ้งการกระทำผิดอย่างทันท่วงที บางประเทศสนับสนุนให้มีการแจ้งเบาะแสหรือ Whistleblowing Program และมีการให้รางวัลการนำจับพร้อมกับการให้ความคุ้มครองกับผู้แจ้งเบาะแสด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ซี่งในไทยยังไม่มี 
  3. การบริหารจัดการความเสี่ยงในช่วงปลายน้ำ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีแนวโน้มที่จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบังคับใช้กฎหมายน้อยลง และให้หน่วยงานกำกับดูแลมีอำนาจมากขึ้นในส่วนของการดำเนินการแพ่ง นอกจากนี้ บทลงโทษทางแพ่งของไทยมีความรุนแรงสูงสุดน้อยกว่าประเทศอื่น รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายของไทยในคดีที่สำคัญยังคงใช้เวลานานกว่าเมื่อเทียบกับสหราชอาณาจักรและสิงคโปร์โดยเฉพาะในช่วงของการดำเนินการของหน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานสอบสวนก่อนที่จะส่งให้อัยการสูงสุดสำหรับการฟ้องศาลต่อไป ซึ่งจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายของไทยได้
Image 1
Image 2
Image 3